2016.03.012.เชิญร่วมงาน Material Handling & Equipment 2016

Last updated: 28 ก.พ. 2560  |  4346 จำนวนผู้เข้าชม  | 

         
   
" สวัสดีค่ะ "

       กลับมาพบกันอีกเช่นเคยน่ะค่ะ กับเดือนมีนาคม ซึ่งในเดือนนี้บริษัทไทแทนเซอร์ซิส ได้ไปร่วมกิจกรรมจัดบูธงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมการขนส่งเพื่อการลำเลียง "Material Handling & Equipment 2016"  ที่อิมแพคเมืองทองธานี ในช่วงปลายเดือนนี้ จึงอยากจะเชิญชวนลูกค้าทุกท่านไปร่วมชมงานด้วยกัน ท่านจะได้พบกับสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เราจะนำเสนอ แล้วยังได้รับส่วนลดพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย

 

 
   
             และในเดือนนี้เราก็มีเรื่องมานำเสนอเกี่ยวกับงานบริการของทางบริษัท ไทแทนเซอร์วิส จำกัด ซึ่งบริษัทเราได้แบ่งงานด้านบริการลูกค้าออกมาจาก บริษัท ไทแทนเครน จำกัด เพื่อรองรับงานด้านการให้บริการดูแลลูกค้าหลังการขายเครนอย่างมีประสิทธภาพ และดูแลลูกค้าที่มีปัญหาจากการบริการของบริษัทเครนไฟฟ้าอื่น ๆ เราจึงได้จัดรวมทีมงานที่มีฝีมือ มีความรู็จริง และมีประสบการณ์ยาวนานเกียวกับงานด้านบริการดูแลบำรุงรักษา และบริการซ่อมแซมรอกและเครนไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ
 
   
    ทำไมต้องตรวจเช็คเครน ?                                                                                     
   
          ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ หรือ เครน (CRANE) เป็นเครื่องจักรที่ใช้ในการขนถ่ายหรือขนย้ายสินค้าและวัสดุที่มีใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม,คลังสินค้า และสถานประกอบการต่างๆอย่างแพร่หลาย เครื่องจักร ดังกล่าวถือเป็น “เครื่องจักรที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้สูง” กระทรวงมหาดไทยจึงได้ออกประกาศเรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับปั้นจั่น ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2530 ซึ่งประกาศดังกล่าวถือเป็นกฏ หมายที่บังคับใช้มามากกว่า 20 ปี และต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งกระทรวง แรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้น ประกาศดังกล่าวก็ยังคงมีผลบังคับใช้ อยู่เพียงแต่เปลี่ยนมากำกับดูแลโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม แทนกรมแรงงาน กระทรวง มหาดไทย ในอดีตนั้นเอง 

           ผู้ประกอบการและนายจ้างควรตระหนักถึงความรับผิดชอบและ หน้าที่ตามประกาศฉบับนี้เพราะแนวโน้มการใช้ปั้นจั่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในโรงงานอุตสาหกรรมมีค่อนข้างสูง และมีสถิติอุบัติเหตุจากการทำงาน เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อย ทำให้มีผู้เสียชีวิต พิการ และบาดเจ็บจำนวนมาก โดยมีสาเหตุมาจากการไม่ตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้ปั้นจั่นตาม ช่วงระยะเวลาที่กำหนด ขาดการตรวจสอบก่อนใช้งานการติดตั้งปั้นจั่น ไม่เหมาะสม การติดตั้งไม่มั่นคงแข็งแรง โดยเฉพาะหัวหน้างานขาดการ ควบคุมดูแลให้ปฏิบัติอย่างถูกต้องและพนักงานขับเครนขาดความรู้ความ เข้าใจในการใช้งานที่ถูกต้อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ ปั้นจั่น ผู้ที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับปั้นจั่นต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นอย่างเคร่งครัด 

           กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นได้ กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของ ปั้นจั่นทุกๆ สามเดือน ตามแบบซึ่งกำหนดไว้ อย่างไรก็ตามวิศวกรผู้ตรวจ สอบและผู้ที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับปั้นจั่นควรมีความรู้และเข้าใจถึงการ ออกแบบและข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประกอบการตรวจ ความปลอดภัยของปั้นจั่นได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในบทความนี้ขอนำเสนอ เฉพาะจุดที่สำคัญๆและควรตรวจสอบทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยของ ปั้นจั่นและเพื่อให้ท่านผู้สนใจได้นำไปพิจารณาประกอบการตรวจสอบ ต่อไป
 
   
                    
++ โปรโมชั่นประจำเดือนมีนาคม ++
                      
   



 
   

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้