สำหรับวันอานันทมหิดลนั้น เป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2498 และด้วยความสำนึกในพระเมตตาธิคุณและพระมหากรุณาธิคุณอันมีเป็นอเนกประการ ปวงชนชาวไทยจึงได้ถือเอาวันที่ 9 มิถุนายนของทุก ๆ ปี เป็นวันอานันทมหิดล เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน
พระราชประวัติของพระองค์
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ซึ่งตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ทรงเป็นพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ซึ่งภายหลังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ซึ่งภายหลังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
|
|
สำหรับการศึกษา พระองค์ทรงเริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี ก่อนศึกษาต่อที่โรง เรียนเทพศิรินทร์ อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 ทำให้สมเด็จพระราชชนนีได้ขอ พระราชทานพระราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 7 เพื่อนำพระโอรส และพระธิดาไปประทับที่ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งที่นั่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทม หิดล ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมีเรมองต์ และได้ย้าย ไปศึกษาที่โรงเรียนนูแวลเดอลา ซูวิสโรมองต์
เมื่อช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2477 โดยสภาผู้แทนราษฎร และรัฐบาลในขณะนั้นมีมติเห็นชอบให้อัญเชิญ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งเป็นพระยศขณะนั้น ขึ้นครองราชย์สืบราชสันติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 โดยมีพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา และเจ้าพระยายมราช ทำการบริหารแผ่นดินแทนพระองค์ที่มีพระชนมายุเพียง 8พรรษา จนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ และหลังจากพระองค์ทรงงานไม่กี่ปี ก็เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ณ ห้องพระบรร ทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้น 12 ปี
แม้จะเป็นระยะเวลาที่ไม่นานนัก แต่ตลอดระยะเวลา 12 ปี ที่ทรงครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลก็ได้ ทรงมีพระราชกรณี ยกิจในด้านต่างๆ ทั้งในด้านการปกครอง การศาสนา และการศึกษา ตลอดจนการเสด็จพระราช ดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ณ หอประชุมราชแพทยาลัยศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทย ศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยในการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนี้ พระองค์ได้มีพระราชปรารภ ให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน โรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย จึงได้ถือกำเนิดขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งในปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
|