2016.10.019.งานบริการทดสอบเครนและออกหนังสือ ปจ.1

Last updated: 23 ก.พ. 2565  |  5283 จำนวนผู้เข้าชม  | 

         
   
 สวัสดีค่ะ

          กลับมาพบกันอีกแล้วน่ะค่ะลูกค้าที่น่ารักทุกท่าน นี่ก็เข้าเดือนตุลาคมแล้วน่ะค่ะอีกไม่กี่เดือนก็จะสิ้นปีแล้ว เวลาช่างผ่านไปเร็วเหลือเกินน่ะค่ะว่าไหม และในเดือนนี้เราก็มีข่าวสารวันสำคัญและมีโปรโมชั่นดีๆ มานำเสนอเหมือนกันเช่นเคย ก่อนอื่นต้องขอนำสเนอเทศกาลสำคัญในเดือนนี้ก่อนเลย ซึ่งเป็นที่นิยมกันอย่างมาก นั่นก็คือ เทศกาลกินเจ นั่นเอง ตรงกับวันที่ 1 - 9 ตุลาคม แต่บางคนก็อาจกินล่วงหน้า 1 วัน เพราะถือเป็นการกินล้างท้องนั่นเอง
 
   
      คำว่า "เจ" ในภาษาจีนทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมีความว่า "อุโบสถ" เดิมหมายความว่า "การรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน" ตามแบบอย่างของชาวพุทธที่รักษาอุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 ที่จะไม่รับประทานอาหารหลังเที่ยงวันไปแล้ว

แต่สำหรับพุทธนิกายมหายานนั้น การรักษาอุโบสถศีลจะรวมถึงการไม่รับประทานเนื้อสัตว์ด้วย เราจึงนิยมเรียการไม่ทานเนื้อสัตว์รวมไปกับการกินเจในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อ แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่า "กินเจ" ดังนั้นความหมายของคนกินเจ ไม่เพียงแต่ไม่ทานเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ
   
   
จุดประสงค์หลักของการกินเจ 
     1. กินเพื่อสุขภาพ เพราะอาหารเจเป็นอาหารชีวจิต เมื่อกินติดต่อกัน จะทำให้ร่างกายสมดุล สามารถขับพิษของเสียต่าง ๆ ออกจากร่างกายได้ และปรับระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้มีเสถียรภาพ
     2. กินด้วยจิตเมตตา เนื่องจากทุก ๆ วัน อาหารที่เรากินประกอบด้วยเลือดเนื้อของสรรพสัตว์ ผู้ที่มีจิตใจดีงามจึงไม่สามารถกินเนื้อของสัตว์เหล่านั้นได้
     3. กินเพื่อเว้นกรรม เพราะการฆ่าเอาเลือดเนื้อผู้อื่นมาเป็นของเราเป็นการสร้างกรรม แม้จะไม่ได้ลงมือฆ่าเองก็ตาม เพราะการซื้อผู้อื่นเท่ากับการจ้างฆ่า ถ้าไม่มีคนกินก็ไม่มีคนฆ่ามาขาย

 
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็ป kapook.com
 
   
         
   
บริการทดสอบการรับน้ำหนักปั้นจั่น
พร้อมบริการออกหนังสือรับรองความปลอดภัย (ปจ.1)

 
   
          
 

 











 
 
   
   ทดสอบตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
   
   
         นายจ้างหรือผู้ประกอบการต้องจัดให้มีเอกสารรับรองความปลอดภัย ตามประกาศของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยต้องมีวิศวกรเครื่องกลเป็นผู้ดูแลการทดสอบและเซ็นต์รับรองในเอกสาร โดยต้องมีภาพถ่ายของวิศวกรขณะทำการทดสอบปั้นจั่น และสำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และเก็บไว้เป็นหลักฐานให้พนักงานกระทรวงแรงงานสามารถตรวจสอบได้ หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฏของกระทรวงจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

   
หลักเกณฑ์การทดสอบ

         ตรวจสอบตามขนาดพิกัดยก
   ปั้นจั่น 1 - 3 ตัน        =  ตรวจปีละ 1 ครั้ง
   ปั้นจั่น 3 - 50 ตัน      =  ตรวจปีละ  2 ครั้ง (ทุก ๆ 6 เดือน)
   ปั้นจั่น 50 ตัน ขึ้นไป  =  ตรวจปีละ 4 ครั้ง (ทุก ๆ 3 เดือน)



          ลักษณะการทดสอบการรับน้ำหนัก
   
  ปั้นจั่นใหม่ ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า หรือไม่เกิน 1.25 เท่าของพิกัดยก ขนาด 20-50 ตัน ให้ทดสอบกการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตัน
     
 ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว ให้ทดสอบกรรับน้ำหนัก 1.25 เท่า ของน้ำหนักที่ใช้ยกงานจริงสูงสุด แต่ไม่เกินพิกัดยกของปั้นจั่น กรณีไม่มีพิกัดยก ให้ทดสอบการรับน้ำหนักตามที่วิศวกรกำหนด


         กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
     
 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.2552
     
 ประกาศกรมสวัสดิการฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ.2554


 
   
   
   
         
          
โปรโมชั่นพิเศษ เดือน ตุลาคม 
 
   
        
 
   
   
    
 
   
   
    
 
   
         
 
   
   
     
 
   
         

     



 
   
         


 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้